ราชกิจจาฯ เผยแพร่ กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2567 ยึดอาวุโส และคว…

เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2567ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2567 รวม 48 ข้อ โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ก.ตร. ลงนามประกาศระบุว่า เพื่อรักษาความเที่ยงธรรมในการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม การคัดเลือกหรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจต้องพิจารณาจากอาวุโสและความรู้ความสามารถประกอบกัน เพื่อให้ข้าราชการตำรวจสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพ ไม่ตกอยู่ใต้อาณัติของบุคคลใด และภาคภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่ของตน

ในการนี้ เพื่อกำหนดให้ระบบคุณธรรมเกิดขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 23 (2) มาตรา 88ประกอบกับมาตรา 76 มาตรา 78 มาตรา 79 มาตรา 81 มาตรา 82 มาตรา 83 และมาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 และมติ ก.ตร. ในการประชุมครั้งที่ 1/2567เมื่อวันที่ 29มกราคม 2567 จึงออกกฎ ก.ตร. ไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 กฎ ก.ตร. นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 2 กฎ ก.ตร. นี้ให้ใช้บังคับในการคัดเลือกหรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ระดับรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและจเรตำรวจแห่งชาติลงมาถึงผู้บังคับหมู่ เว้นแต่ระยะเวลาการคัดเลือกแต่งตั้งตามข้อ 7 (1) (ก) และการจัดทำลำดับอาวุโสตามข้อ 9 ให้ใช้บังคับในการคัดเลือกแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติด้วย

ดาวน์โหลด กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2567 ฉบับเต็มคลิกที่นี่คำพูดจาก JOKER123

สำหรับ เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ตร. ฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 มาตรา 82 วรรคห้า บัญญัติให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อาจกำหนดให้มีหลักเกณฑ์การคัดเลือกแต่งตั้งข้าราชการตำรวจดำรงตำแหน่งระดับผู้บังคับการขึ้นไปสำหรับผู้ที่จะครบเกษียณอายุราชการเป็นการเฉพาะ ทั้งนี้ ให้กำหนดไว้ในกฎ ก.ตร. และมาตรา 88 บัญญัติให้เพื่อรักษาความเที่ยงธรรมในการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ให้ ก.ตร. ออกกฏ ก.ตร. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจไว้ให้ชัดเจนแน่นอน โดยอย่างน้อยต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดลำดับอาวุโสข้าราชการตำรวจ เพื่อใช้ในการคัดเลือกหรือแต่งตั้ง การกำหนดวาระประจำปี การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง การนับจำนวนตำแหน่งว่าง การคำนวณสัดส่วนอาวุโสเพื่อเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น การจัดประเภทตำแหน่งเพื่อใช้ในการคำนวณสัดส่วนอาวุโสเพื่อเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น และการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ตร. นี้